เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

8
บริษัท1 (ชุมนุม) 8

1. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
2. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
3. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
4. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
5. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
6. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
7. มารบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นนิมมานรดี)
8. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)

9
โลกธรรม2 8

1. ได้ลาภ 2. เสื่อมลาภ
3. ได้ยศ 4. เสื่อมยศ
5. นินทา 6. สรรเสริญ
7. สุข 8. ทุกข์

10
[338] อภิภายตนะ3(อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) 8

1. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน4 เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 1

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/69/371-372, ที.ม. (แปล) 10/172/118
2 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/5/202-203
3 อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ฌาน หรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ 5 และ
อารมณ์ทั้งหลาย คำว่า อภิภายตนะ มาจากคำว่า อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์
และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย แต่ในที่นี้หมายถึงมนายตนะ
และธัมมายตนะ (ที.ม.อ. 173/104, องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/270, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/61-65/302) และ
ดูเทียบ องฺ.ทสก.(แปล) 24/29/71
4 มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ. 173/164,
องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/270)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :348 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 8

2. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 2
3. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน1 เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 3
4. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 4
5. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสี
เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้า
ในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 5
6. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอก
กรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม
ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้าน
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคล
หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป

เชิงอรรถ :
1 มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายใน คือ เว้นจากสัญญาโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ.
173/165, องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/65/271)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :349 }